การประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

วันที่ 31 ตุลาคม 2566  กองพัฒนาระบบมาตรฐานงานกำกับโรงงาน ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่   ณ ห้อง 509 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม  โดย นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยมี นายณรงค์ บัวบาน ผู้อำนวยการกองมาตรฐานงานกำกับโรงงาน (กมร.) กล่าวรายงาน

ในการจัดประชุมในครั้งนี้ สำหรับเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เพื่อนำไปใช้เป็นรูปแบบการตรวจโรงงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานงานกำกับดูแลโรงงานมุ่งสู่อุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีคู่มือปฏิบัติงาน จำนวน 3 ฉบับ คือ

1) คู่มือการตรวจโรงงานอุตสาหกรรมตามแผนตรวจประจำปี

2) คู่มือการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนโรงงาน

3) คู่มือการบังคับการตามมาตรา 37 และ 39 การส่งคำสั่งตามมาตรา 38 และการปิดประกาศคำสั่งตามมาตรา 40 แห่ง พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกรมโรงงานงาน เจ้าหน้าที่จากสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 50 คน

 

คู่มือมาตรฐานเครื่องอัดอากาศ และมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง

เครื่องอัดอากาศ (Air compressor) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างแรงกดอากาศหรือก๊าซในปริมาณที่มากขึ้นจากปริมาณอากาศที่เข้ามา โดยใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเครื่องจักรเพื่อสร้างแรงกดให้กับอากาศแล้วส่งออกไปใช้งานตามที่ต้องการ โดยเครื่องอัดอากาศสามารถกำหนดระดับแรงกดของอากาศที่ออกได้ตาม ความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีการควบคุมด้วยวาล์วหรือระบบควบคุมอื่น ๆ เพื่อให้ได้แรงกดอากาศที่เหมาะสมสำหรับงานที่ใช้งานอยู่ เครื่องอัดอากาศเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญและมีบทบาทสำคัญในหลายงานและอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในอุตสาหกรรม งานก่อสร้างและซ่อมบำรุง การบำรุงรักษาเครื่องจักร งานที่ต้องการแรงกดอากาศ และการเติมลมในยางรถ การใช้เครื่องอัดอากาศช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญสูงในระบบต่าง ๆ ในโรงงานและอาคาร มอเตอร์เป็นส่วนสำคัญของเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมที่ใช้ในกระบวนการผลิตและการทำงานอื่น ๆ เช่น ระบบลำเลียงสินค้าการกวนผสม ปั๊มน้ำ ฯลฯ ประสิทธิภาพของมอเตอร์ขึ้นอยู่กับค่าของการสูญเสียที่เกิดขึ้นในตัวมอเตอร์ มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จะต้องการกำลังไฟฟ้าป้อนเข้าน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำที่ให้กำลังงานขาออก เท่ากัน มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถลดการสูญเสียพลังงาน ได้ประมาณ 25-30 % ของการสูญเสียเดิม นอกจากประหยัดพลังงานแล้วมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกคือ เกิดความร้อนจากการทำงาน น้อยกว่า อายุการใช้งานของฉนวน และลูกปืนยาวนานขึ้น การสั่นสะเทือนน้อยกว่า มีเสียงรบกวนน้อย และ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าดีขึ้น

คู่มือทั้ง 2 ฉบับนี้มีเนื้อหาเสริมสร้างความรู้ ด้านการใช้พลังงาน ด้วยเนื้อหาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วนตนเอง เข้าใจง่าย เน้นการปฏิบัติจริงเหมาะสำหรับ ผู้ประกอบกิจการโรงงาน เจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจสอบเอกชน และผู้ที่สนใจ สามารถนำไป ประยุกต์ใช้และให้คำแนะนำผู้ประกอบการได้

สามารถดาวน์โหลดคู่มือตามลิงค์ด้านล่าง

การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม

 

กิจกรรมขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม กองพัฒนาระบบมาตรฐานงานกำกับโรงงาน

null

 

กิจกรรมประกาศยกย่องเชิดชูบุคลากรที่มีคุณธรรมและความดีจนเป็นแบบอย่าง
ของ กองพัฒนาระบบมาตรฐานงานกำกับโรงงาน null

 กิจกรรมประกาศยกย่องเชิดชูหน่วยงานภายใน กองพัฒนาระบบมาตรฐานงานกำกับโรงงานnull

 

ข่าวประชาสัมพันธ์


โครงการฝึกอบรมเรื่อง คู่มือสำหรับประชาชน เรื่อง การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 และเรื่อง การขออนุญาตขยายโรงงานจำพวกที่ 3

VDO การฝึกอบรม | เอกสารประกอบการฝึกอบรม

สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นหัวข้อกฎหมาย

คู่มือตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย กากอุตสาหกรรม สารเคมีและวัตถุอันตราย สำหรับผู้ประกอบการ

2

 

 Click below to download

คู่มือสำหรับผู้ประกอบการ Part1

คู่มือสำหรับผู้ประกอบการ Part2

คู่มือตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย กากอุตสาหกรรม สารเคมีและวัตถุอันตราย สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลโรงงาน

 

1

Click to download

คู่มือตรวจประเมินสำหรับเจ้าหน้าที่ Part1

คู่มือตรวจประเมินสำหรับเจ้าหน้าที่ Part2

คำสั่ง ที่ 1/2557 เรื่อง มอบหมายการรับผิดชอบการจัดการเรื่องร้องเรียน

คำสั่ง ที่ 1/2557 เรื่อง มอบหมายการรับผิดชอบการจัดการเรื่องร้องเรียน

การพิจารณาอนุญาต ประกอบ / ขยายกิจการโรงงาน