การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม

ประกาศเจตนารมณ์การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม

แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณปี2566

รายงานผลการดำเนินงานองค์กรคุณธรรม(รอบ9เดือน)

 

กรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดงานสัมมนา เผยแพร่ผลการดำเนินการและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับ “เทคโนโลยีพลาสมา” ยกระดับขีดความสามารถในการผลิตของประเทศไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนา เผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีพลาสมา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมี นายนายวิษณุ อิสระธานันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มเทคโนโลยีกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้ประกอบการ จำนวน 200 คน เข้าร่วมการสัมมนา ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร
การจัดสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีพลาสมาสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพอุบัติใหม่ทั้งระบบแบบครบวงจร ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศและเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการผลิตของประเทศไทย ในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในโรงงานอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก
สำหรับ “เทคโนโลยีพลาสมา” เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง และเป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงมีความจำเป็นในการรวบรวมองค์ความรู้ เพื่อเผยแพร่เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ฯลฯ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดงานสัมมนาเครือข่ายทางธุรกิจอุตสาหกรรม

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 09.0 น.นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมสัมมนาเครือข่ายทางธุรกิจอุตสาหกรรม (Business Pitching) โครงการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการภายใต้โครงการ : โครงการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและเศรษฐกิจหมุนเวียน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุน) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี นายเอกบุตร อุตมพงษ์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ ประธานโครงการ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนา ณ โรงแรม เอส รัชดา เลเชอร์ กรุงเทพมหานคร

การจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
– เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนะแนวทางการพัฒนาธุรกิจในพื้นที่เป้าหมาย
– ให้บริการคำปรึกษาด้านการลงทุนอุตสาหกรรม และสิทธิประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย
– เพื่อให้ผู้ประกอบการได้แสดงความคิดเห็น ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมต่อไป

การจัดการความรู้ (KM ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ศึกษาดูงานการดำเนินงานเขตประกอบการอุตสาหกรรมและเผยแพร่แนวทางการปฎิบัติงานในการควบคุม กำกับ ดูแลเขตประกอบการอุตสาหกรรม 

การฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยเทคโนโลยีเครื่องจักรกลขั้นสูงและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

          วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายวีระพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยเทคโนโลยีเครื่องจักรกลขั้นสูงและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่กรอ. ให้มีความเข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค และเทคโนโลยี ของโรงงานอุตสาหกรรมในการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0 ระหว่างวันที่ 19 – 20 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) และบริษัท ไดซิน จำกัด

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายเอกบุตร อุตมพงศ์ รักษาการผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นโครงการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีพลาสมา

วันอังคารที่ 5 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายเอกบุตร อุตมพงศ์ รักษาการผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นโครงการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีพลาสมา (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมและบริการด้วยเทคโนโลยีพลาสมา) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมด้วย อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานราชการ ผู้แทนหน่วยงานเอกชน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีพลาสมา และเพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรม เทคโนโลยีพลาสมา รวมถึงรูปแบบและเนื้อหาเพื่อเผยแพร่แนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมาในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ณ ห้องจูบิลี่ บอลรูม โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ กรุงเทพฯ

 

ขอเชิญสมัครเข้าร่วมโครงการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีพลาสมา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

การประชุมหารือเทคโนโลยีพลาสมาร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านสื่อระบบอิเล็กทรอนิกส์

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. นายวีรพงษ์  เอี่ยมเจริญชัย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือเทคโนโลยีพลาสมาร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ผ่านสื่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม กทพ. ชั้น 4 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรการสนับสนุน

โครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยระบบ GIS

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท ฟิกท์ แอสโซซิเอท จำกัด กางแผนยกระดับ’เขตประกอบการฯ BCG’

       กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท ฟิกท์ แอสโซซิเอท จำกัด จัดกิจกรรมสัมมนาระดมความคิดประเมินศักยภาพและความพร้อมเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยระบบ GIS (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุน) กางแผนศึกษาศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม เดินหน้ายกระดับการพัฒนาเขตประกอบการฯ ทั่วประเทศ

ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (BCG) เตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

โดยการจัดประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • นำเสนอผลการดำเนินโครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยระบบ GIS
  • นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของเขตประกอบการอุตสาหกรรมในการที่จะขยายพื้นที่เพิ่มเติมหรือการขยายประเภทอุตสาหกรรมที่จะส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม ได้ร่วมกับบริษัท ฟิกท์ แอสโซซิเอท จำกัด การดำเนินโครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยระบบ GIS (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุน) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

สำหรับ การสนับสนุนส่งเสริมและกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในเขตประกอบการอุตสาหกรรม ยืนยันแนวเขตประกอบการอุตสาหกรรมตามที่ได้รับการประกาศ จัดเก็บข้อมูลตำแหน่งโรงงานที่ตั้งในเขตประกอบการอุตสาหกรรมให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดทำโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Application) ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลโรงงานของกรมฯ และเพื่อนำไปใช้ประกอบการศึกษาพัฒนาพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมในการสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

ด้วยแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG การประเมินศักยภาพและความพร้อมเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน นายวีรพงษ์ กล่าวเพิ่มว่า สำหรับการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเขตประกอบการอุตสาหกรรม ของโครงการนี้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับโรงงานในเขตประกอบการอุตสาหกรรม 8 พื้นที่นำร่อง ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้

โดยพิจารณาจากความพร้อมและศักยภาพของเขตประกอบการในการรองรับการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมภายในเขต ผ่านเครื่องมือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อเขตประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการภายในเขตประกอบการอุตสาหกรรม รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กิจกรรมสัมมนาระดมความคิดประเมินศักยภาพและความพร้อมเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

สำหรับ ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-4000 หรือ www.diw.go.th