โครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยระบบ GIS

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท ฟิกท์ แอสโซซิเอท จำกัด กางแผนยกระดับ’เขตประกอบการฯ BCG’

       กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท ฟิกท์ แอสโซซิเอท จำกัด จัดกิจกรรมสัมมนาระดมความคิดประเมินศักยภาพและความพร้อมเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยระบบ GIS (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุน) กางแผนศึกษาศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม เดินหน้ายกระดับการพัฒนาเขตประกอบการฯ ทั่วประเทศ

ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (BCG) เตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

โดยการจัดประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • นำเสนอผลการดำเนินโครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยระบบ GIS
  • นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของเขตประกอบการอุตสาหกรรมในการที่จะขยายพื้นที่เพิ่มเติมหรือการขยายประเภทอุตสาหกรรมที่จะส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม ได้ร่วมกับบริษัท ฟิกท์ แอสโซซิเอท จำกัด การดำเนินโครงการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยระบบ GIS (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุน) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

สำหรับ การสนับสนุนส่งเสริมและกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในเขตประกอบการอุตสาหกรรม ยืนยันแนวเขตประกอบการอุตสาหกรรมตามที่ได้รับการประกาศ จัดเก็บข้อมูลตำแหน่งโรงงานที่ตั้งในเขตประกอบการอุตสาหกรรมให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดทำโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Application) ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลโรงงานของกรมฯ และเพื่อนำไปใช้ประกอบการศึกษาพัฒนาพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมในการสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

ด้วยแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG การประเมินศักยภาพและความพร้อมเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน นายวีรพงษ์ กล่าวเพิ่มว่า สำหรับการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเขตประกอบการอุตสาหกรรม ของโครงการนี้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับโรงงานในเขตประกอบการอุตสาหกรรม 8 พื้นที่นำร่อง ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้

โดยพิจารณาจากความพร้อมและศักยภาพของเขตประกอบการในการรองรับการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมภายในเขต ผ่านเครื่องมือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อเขตประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการภายในเขตประกอบการอุตสาหกรรม รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กิจกรรมสัมมนาระดมความคิดประเมินศักยภาพและความพร้อมเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

สำหรับ ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-4000 หรือ www.diw.go.th

การออกแบบโครงสร้างทางนวัตกรรมใหม่ในการกำกับดูแลอุตสาหกรรมปิโตรเลียมแบบครบวงจร (Smart innova AC 4.0 approach prototype project)

ต้นแบบแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงระบบนิเวศน์พัฒนาการรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ (คพท)@

 

ขั้นตอนการพิจารณาอนุญาต ประกอบ/ขยาย กิจการโรงงาน

ขั้นตอนการพิจารณาอนุญาต ประกอบ/ขยาย กิจการโรงงาน