กรณีผู้ขายนำเข้าเอง ขายเอง

  1. กรณีผู้ซื้อนำไปใช้เอง ซื้อมาใช้ได้เลยโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียน และขอใบแจ้งมีไว้ในครอบครอง เพียงแต่ต้องตรวจสอบชื่อวัตถุอันตรายที่ปรากฏในใบแจ้งฯ ชนิดที่ 2 นั้น ตรงกับรายชื่อ 53 รายการหรือไม่ ถ้าตรงกันให้แจ้งข้อเท็จจริงตามแบบ วอ./อก.7 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการให้แจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ.2557
  2. กรณีผู้ซื้อนำไปขาย
  • ถ้าวัตถุอันตรายทุกชนิดรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ไม่ต้องทำใบแจ้งฯ ชนิดที่ 2 (ครอบครอง) แต่ยังคงต้องแจ้งแบบ วอ./อก.7 ตามเงื่อนไขในข้อ 1 กรณีส่งออกต้องทำใบแจ้งฯ ชนิดที่ 2 ก่อนส่งออก
  • ถ้าวัตถุอันตรายทุกชนิดรวมกันแล้วเกิน 1,000 กิโลกรัม ต้องทำใบแจ้งฯ ชนิดที่ 2 (ครอบครอง และส่งออก) ต้องแจ้งตามแบบ วอ.อก.7 ตามเงื่อนไขในประกาศฯ ตามข้อ 1
  • กรณีทำใบแจ้งฯ ชนิดที่ 2 ให้เข้าที่ htpp://php.diw.go.th/haz/ ก่อนส่งออก
    ในกรณีที่ท่านได้ทำใบสำคัญขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (การนำเข้า) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากท่านต้องการทราบวัตถุอันตรายให้แก่ผู้อื่นนั้น สามารถแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
  1. ผู้ซื้อวัตถุอันตรายนำไปใช้ส่วนบุคคล หรือใช้เพื่ออุตสาหกรรม จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (การมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย)
  2. ผู้ซื้อวัตถุอันตรายนำไปใช้เพื่อการค้าปลีก หากปริมาณของวัตถุอันตราย (อาจเป็นชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน) เกิน 1,000 กิโลกรัม ผู้ซื้อจะต้องขอใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (การมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย)
    ทั้งนี้ หากเป็นวัตถุอันตรายที่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการให้แจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ.2547 ท่านจะต้องทำการยื่นแบบ วอ./อก.7 ภายในเดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคม ด้วย

GHS 2003 เป็น version แรกสุดที่จัดทำ เผยแพร่ครั้งแรกและประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003 และมีการปรับปรุงแก้ไข (revise) ทุก 2 ปี จึงปรากฏเป็น version ต่างๆ GHS 2005 (Rev.1) GHS 2007 (Rev.2) GHS 2009 (Rev.3) version ล่าสุด คือ GHS 2015 (Rev.6) ดังนั้น GHS ตั้งแต่ version 2003 มาจนถึง version 2009 จึงมีความแตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแต่ละ version โดยสรุปมีดังนี้
GHS 2003 เริ่มแรก มีการจำแนกความเป็นอันตรายทางกายภาพ (Physical hazards) 16 ประเภท ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (Health hazard) 1 ประเภท คือความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Environmental hazard) 1 ประเภทคือความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
GHS 2005 เพิ่มความเป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทที่ 10 คือ ความเป็นอันตรายจากการสำลัก (aspiration hazard) ปรับปรุงแนวทาง (guidance) การใช้ข้อความและรูปสัญลักษณ์ที่แสดงข้อควรระวัง (Precautionary statements and pictograms) และการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheets) ปรับปรุงค่าเกณฑ์ LC50 ทางการหายใจใน category 4 ของความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxic) (จาก 5000 ไปเป็น 2000 ppm) เป็นต้น
GHS 2007 เพิ่มเติมความเป็นอันตรายประเภทย่อย 1 “วัตถุระเบิดไม่เสถียร” (และรูปสัญลักษณ์ (pictogram) ภายใต้คุณสมบัติอันตรายจากการระเบิด (explosive) เพิ่มเติมเนื้อหาในข้อ 14 ของการจัดทำ SDS ให้สอดคล้องตาม MARPOL Convention เป็นต้น
GHS 2009 เพิ่มเติมประเภทความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเรื่อง “การทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน”(hazardous to the ozone layer) เพิ่มประเภทความเป็นอันตรายย่อย (sub-categories) 1A และ 1B สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพหัวข้อ Respiratory or skin sensitization เป็นต้น
สำหรับ GHS 2009 นี้ เป็น version ที่ใช้อ้างอิงในการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ.2555 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ ใช้บังคับกับวัตถุอันตรายภายใต้ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สามารถสืบค้นข้อมูลทางวิชาการได้จากหลายเว็บไซต์ เช่น www.unece.org/trans/danger/publi/ghs/ghs_rev03/03files_e.html, http://eis.diw.go.th/haz/index.asp (กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำฉบับแปลภาษาไทยของ GHS 2009 ไว้ด้วยแล้ว) สำหรับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ สืบค้นได้จาก ข้อมูลกฎหมาย หน้าเว็บไซต์สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
GHS 2011 เพิ่มเติมประเภทความเป็นอันตรายย่อย A (Chemically unstable gases) และ B (Chemically unstable gases) สำหรับการจำแนกความเป็นอันตรายภายใต้คุณสมบัติก๊าซไวไฟ และความเป็นอันตรายย่อย 3 (Category 3) ภายใต้ลักษณะของสารที่เป็นละอองลอย (Aerosol) เพิ่มเติมเนื้อหาในเรื่องข้อความระวัง เป็นต้น
GHS 2013 เพิ่มวิธีทดสอบวิธีใหม่ สำหรับจำแนกความเป็นอันตรายของของแข็งออกซิไดซ์ (Oxidizing solids) ทบทวนหลักเกณฑ์การจำแนกความเป็นอันตรายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (การกัดกร่อนและการระคายเคืองต่อผิวหนัง การทำลายดวงตา และละอองลอย) จัดทำระบบการระบุรหัสสำหรับรูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย เป็นต้น
GHS 2015 เพิ่มความเป็นอันตรายทางกายภาพประเภทที่ 17 คือ สารที่มีความหน่วงในการระเบิด (Desensitized explosives) เพิ่มประเภทความเป็นอันตรายย่อยสำหรับก๊าซที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric gases) ภายใต้คุณสมบัติก๊าซไวไฟ เพิ่มเติมวิธีทดสอบวิธีใหม่ สำหรับการจำแนกคุณสมบัติของสารที่เป็นของแข็งออกซิไดซ์ เพิ่มเติมข้อมูลที่ต้องจัดทำเพิ่มใน SDS ทบทวนตัวอย่างการจัดทำฉลากสำหรับบรรจุภัณฑ์เล็ก เป็นต้น

ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สารเคมีที่ห้ามนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย จะถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งในมาตรา 18 ระบุไว้ว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้จาก ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 http://www2.diw.go.th/Haz_o/hazard/lawsnew/9.pdf และ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 /hawk/law/haz/12.pdf อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่กรมโรงงานฯ รับผิดชอบ เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การนำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ไม่มีข้อมูล “ผู้ให้บริการคลังเก็บสินค้า วัตถุอันตราย ที่ถูกต้องตาม กรอ.” แต่ กรอ. มีประกาศ กรอ. เรื่องคู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย ซึ่งมีรายละเอียดกำหนดลักษณะของคลังสินค้าที่ใช้เก็บวัตถุอันตรายได้ สามารถดูได้จาก http://eis.diw.go.th/haz/hazard/pdf/pagad-kep-2550.pdf
PHENOLIC RESIN SP1055 ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าไหม หรือต้องแจ้งหน่วยงานไหน ?
การพิจารณาว่าเคมีภัณฑ์ต้องขออนุญาตนำเข้าหรือไม่ จะต้องใช้ข้อมูลส่วนผสมที่แสดงองค์ประกอบครบ 100% จึงจะสามารถยืนยันได้ค่ะ ในเบื้องต้น กรณีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มฟีนอลิกเรซิน อาจจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หากมีฟีนอลหรือฟอร์มัลดีไฮด์เหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์มากกว่า 2%
ดังนั้น ขอแนะนำให้ท่านนำข้อมูลส่วนผสมจากบริษัทผู้ผลิตไปตรวจสอบในระบบยื่นข้อหารือออนไลน์ ตามลิงค์ต่อไปนี้ http://haz3.diw.go.th/hazvk/