กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าเร่งรัดแก้ปัญหาวิกฤติยางพารา เร่งรัดให้โรงงานที่จะประกอบกิจการในปี2559 จำนวน 80 โรงงานเปิดดำเนินการ คาดการณ์หากดำเนินการได้ตามกำหนดส่งผลให้มีกำลังการผลิตการเพิ่มขึ้น 8.7 แสนตันต่อปี  พร้อมจัดตั้งทีมติดตามเร่งรัดโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรมยางขั้นกลางและขั้นปลาย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและเร่งรัดให้โรงงานยางได้ดำเนินการเปิดกิจการเร็วขึ้นกว่าเดิม

 

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการช่วยเหลือชาวสวนยางพาราที่ปัจจุบันปัญหายางพารามีราคาตกต่ำอย่างมาก กิโลละ20-30 บาท ปัญหาดังกล่าว กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีมาตรการที่จะช่วยเหลือและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมยาง โดยช่วยแก้ปัญหายางพารา และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับโรงงานที่ขอใบอนุญาตขอขยายโรงงาน การจัดตั้งโรงงาน เพื่อผลักดันให้โรงงานสามารถประกอบกิจการได้โดยเร็วขึ้น ซึ่งทำให้มีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ยางมากขึ้น

ดร.พสุ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการเร่งรัดโรงงานที่ได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการแล้ว กรอ.ได้จัดตั้งทีมคณะทำงานติดตาม เร่งรัดและให้คำปรึกษาแนะนำโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรมยางขั้นกลางและขั้นปลายให้เริ่มประกอบกิจการได้เร็วขึ้น ปัจจุบันมีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางที่จดทะเบียนกับ กรอ.ทั้งหมด 2,246 โรงงาน ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบประมาณ 4.3 ล้านตันต่อปี ซึ่งในปี 2559 จะมีโรงงานเปิดดำเนินการและขยายโรงงาน จำนวน 80 โรงงาน ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตยาง8.7 แสนตันต่อปีจำนวนโรงงานที่จะเปิดดำเนินการในปี 2559

เดือน ปี

จำนวนโรงงาน

มกราคม 2559

โรงงาน

กุมภาพันธ์  2559

14 โรงงาน

มีนาคม  2559

โรงงาน

เมษายน  2559

โรงงาน

พฤษภาคม  2559

โรงงาน

มิถุนายน  2559

โรงงาน

กรกฎาคม  2559

โรงงาน

สิงหาคม  2559

โรงงาน

กันยายน  2559

13 โรงงาน

ตุลาคม  2559

โรงงาน

พฤศจิกายน  2559

โรงงาน

ธันวาคม  2559

โรงงาน

 

โดยใน 80 โรงงานนี้ ยังมีโรงงานที่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น อยู่ระหว่างกำลังก่อสร้างโรงงาน จำนวน 13 โรงงาน กำลังแจ้งประกอบกิจการ จำนวน โรงงาน กำลังติดตั้งเครื่อง โรงงาน ขาดแหล่งเงินทุน จำนวน โรงงาน ขยายเวลาการแจ้งประกอบ จำนวน 11 โรงงาน เงินทุนไม่พอ อยู่ระหว่างหาแหล่งเงินทุนหรือผู้ร่วมทุน จำนวน โรงงาน ไม่เข้าเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน จำนวน โรงงาน มีปัญหาสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและขาดตลาดรองรับ จำนวน 14 โรงงาน  การก่อสร้างอาคารโรงงานล่าช้ากว่ากำหนด จำนวน 10 โรงงาน และมีปัญหาอื่นๆ อีก โรงงาน

กรอจะเข้าไปดำเนินการอำนวยความสะดวกเพื่อให้สามารถดำเนินการเปิดขยายกิจการได้โดยจะมีทีมชุดตรวจสอบดังกล่าวให้คำปรึกษาโรงงานที่มีปัญหา ในกรณีที่โรงงานมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการเปิดได้ คาดว่าหากโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าวเปิดดำเนินการครบทุกแห่งทั้ง 80 โรงงาน คาดว่าจะมีการกำลังการผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น 8.7แสนตัน/ปี ทั้งนี้จะเร่งรัดให้โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราเพิ่มปริมาณการเก็บสต๊อกยางพาราเป็นวัตถุดิบ รวมทั้งให้เตรียมการรองรับการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยางพาราจากส่วนราชการต่างๆ ซึ่งในขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพิ่มมากขึ้น เช่น หมอนสุขภาพ ถุงมือ รองเท้า แผ่นยางปูพื้น กาวน้ำยาง เป็นต้น

 

ด้าน นางวัลยา วงศาริยวานิช รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทดีสโตน กล่าวว่า กลุ่มบริษัท ดีสโตน ประกอบธุรกิจผลิตยางล้อรถเพื่อยานพาหนะประเภทต่างๆ มาเป็นระยะเวลา 40 ปี โดย บริษัท สวิซซ์วัน คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทเครือกลุ่มบริษัท ดีสโตน มีการผลิตยางเพื่อยานพาหนะส่วนบุคคลประเภทเรเดียล ได้ให้การสนับสนุนภาครัฐของการพยุงราคายางด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตยางแบรนด์ deestone และแบรนด์ thunderer โดยล่าสุดทางกลุ่มดีสโตนได้มีการขยายโรงงาน รองรับความต้องการในสินค้าที่มีการสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ คาดว่า ในปีนี้จะสามารถเพิ่มกำลังการการผลิตได้มากขึ้น จากเดิม 10000 ตันต่อปี เป็นใช้ยางไม่ต่ำกว่า 60,000 – 70,000 ตัน ต่อปี และจะพยายามขยายกำลังการผลิตให้เป็นไปตามแผนทางธุรกิจ คือ ในปี 2560 จะมีการใช้ยางมากกว่า 90,000 ตัน ต่อปี เพื่อใช้ผลิตยางทุกประเภทที่กลุ่มบริษัท ดีสโตนดำเนินธุรกิจอยู่ ซึ่งในแผนการขยายโรงงานนั้น ได้เริ่มมีการขยายโรงงานในส่วนของเรเดียลสำหรับยานพาหนะส่วนบุคคลที่จะเพิ่มกำลังการผลิตได้มากถึง 10 ล้าน เส้นต่อปี ในปี 2559 เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจที่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ใช้ทั่วโลก