วัตถุอันตราย

ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม หมายถึง สารเคมีตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ปัจจุบันมีประมาณ 1,600 รายการ หน่วยงานรับผิดชอบ 6 หน่วยงาน ได้แก่

  1. กรมปศุสัตว์ ใช้ในงานปศุสัตว์ 24 สาร 13 กลุ่ม
  2. กรมวิชาการเกษตร ใช้ในทางเกษตร 686 สาร 12 กลุ่ม
  3. กรมโรงงานอุตสาหกรรม ใช้ในทางอุตสาหกรรม 615 ราย 26 กลุ่ม
  4. กรมประมง ใช้ในทางการประมงและกระเพาะเลี้ยงสัตว์ 17 สาร 2 กลุ่มสาร 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์
  5. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข 230 สาร 29 กลุ่มสาร 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์
  6. กระทรวงพลังงาน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซธรรมชาติ เฉพาะที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง

การควบคุมวัตถุอันตราย

การผลิต / นำเข้า / ส่งออก / ครอบครอง / นำผ่าน

แบ่งออกเป็น 4 ชนิต ตามความจำเป็นแก่การควบคุม

ชนิดที่ 1 : ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีกาที่กำหนด

ชนิดที่ 2 : ต้องแจ้งให้พนักงานทราบและปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ชนิดที่ 3 : ต้องได้รับอนุญาต

ชนิดที่ 4 : ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง

การดำเนินตามกฏหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย

สถานที่เก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย

ตามประกาศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย

  • สถานที่เก็บรักษาต้องมีความมั่นแข็งแรง
  • มีการจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับเก็บรักษาให้เหมาะสม ปลอดภัย
  • กำหนดมาตรการการป้องกัน / การปฐมพยาบาล / อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล / เครื่องหมายความปลอดภัย / การฝึกอบรม
  • ข้อกำหนดพิเศษ เช่น ก๊าซ สารไวไฟ หรือสารออกซิไดซ์

ต้องจัดทำแผน/รับรองงานความปอลดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำปี

การมีบุคลากรเฉพาะ

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #วัตถุอันตราย #นำผ่านวัตถุอันตราย #บุคลากรเฉพาะ #ระบบหารือเคมีภัณฑ์ฯ


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย

เบอร์โทรศัพท์. 02-430-6308