เทคโนโลยีการพัฒนาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน : Wind Hydrogen Hybrid


egat-dams-lamtakong-trip

                              การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีโครงการพัฒนาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม โดยการนำระบบ Wind Hydrogen Hybrid ควบคู่กับการใช้เซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นแห่งแรกของเอเชียที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการเก็บและผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ คาดว่าได้พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลม   ปีละ 9.14 ล้านหน่วย ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตไฟฟ้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นขยะมลพิษเมื่อถึงรอบการเปลี่ยนแผงเซลล์เชื้อเพลิง

กองบริการงานอนุญาตโรงงาน 2 ได้จัดโครงการศึกษาดูงานและสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคโนโลยีการพัฒนาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน : Wind Hydrogen Hybrid การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมควบคู่กับการใช้เซลล์เชื้อเพลิง ในระหว่างวันที่ 27 – 28 มกราคม 2566 ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา โดยเล็งเห็นความจำเป็นในการเพิ่มองค์ความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรของกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเรื่อง เทคโนโลยีการพัฒนาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน : Wind Hydrogen Hybrid การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมควบคู่กับการใช้เซลล์เชื้อเพลิง  สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตรวจสอบกำกับดูแลโรงงานตลอดจนสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนผู้ที่อาศัยใกล้เคียงโรงงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ขอให้เฝ้าระวังการระบายมลพิษอากาศ และวางแผนการผลิตในช่วงวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5

ด้วยในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นช่วงสถานการณ์วิกฤตฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีค่าเกินมาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากยานพาหนะ การเผาในที่โล่ง และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง จึงขอให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานวางแผนการผลิต แผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงสถานการณ์วิกฤตฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

การเข้าร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสำนักงานเขตบางแคได้รับเรื่องร้องเรียนผ่าน Traffy Fondue

ระบบตรวจสอบการระบายมลพิษอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง : CEMs

กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงขอความร่วมมือให้ประเภทโรงงาน หน่วยการผลิต ที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อรายงานมลพิษอากาศจากปล่องโรงงาน พ.ศ. 2565 ดำเนินการตามประกาศกระทรวงฉบับดังกล่าว

 

กระทรวงอุตสาหกรรม  ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อรายงานมลพิษอากาศจากปล่องโรงงาน พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 10 มิถุนายน 2566 โดยกำหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อรายงานมลพิษอากาศจากปล่องระบายให้ครอบคลุม ทั่วประเทศรวมทั้งปรับปรุงประเภทหน่วยผลิตของโรงงานและชนิดของมลพิษที่ต้องตรวจวัดโดยเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อใช้ติดตามตรวจสอบการระบายมลพิษ ของโรงงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถ มีส่วนร่วมในการติดตามการระบายมลพิษอากาศของโรงงานอันจะนำไปสู่การบริหารจัดการเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน

กิจกรรม

  • วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 นายภัทรพล ลิ้มภักดี ผอ. กร.2 ร่วมบรรยายพิเศษหัวข้อ "ข้อกำหนดตามกฎหมายเพื่อขออนุญาตตั้งโรงงานจากพลังงานแสงอาทิตย์" ณ ห้อมสัมมนา SCG สำนักงานใหญ่ บางซื่อกรุงเทพฯ

  • กร. 2 จัดส่งเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบโรงงานลำดับที่ 14 และ 92 ที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น ตรวจสอบให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมให้คำแนะนำปรับปรุง แก้ไขในเชิงเทคนิค ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามแผนการตรวจโรงงานเชิงคุณภาพในไตรมาสที่ 2 ของหน่วยงาน และเป็นมาตรการเชิงรุก ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหล

คำแนะนำการยื่นอุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535

 

:: คำแนะนำการยื่นอุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 คลิกดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่..